วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ส่วนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล การประเมินศักยภาพของหมู่บ้าน (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส ภัยคุกคาม)

 2.1 การวิเคราะห์ปัจจัยภายใน หรือสภาพแวดล้อมภายใน (จุดอ่อน จุดแข็ง) จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงจุดเด่น และข้อเสียเปรียบของหมู่บ้าน

     (1) จุดอ่อน Weakness คือ ลักษณะหรือข้อด้อยของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น  (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)

(1.1) รายได้ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

          (1.2) ไม่มีการวางแผนครอบครัว 
                   (1.3) ไม่มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
          (1.4) ไม่มีความรู้ด้านการเกษตร

ด้านเศรษฐกิจ

          (๑) รายได้ของครัวเรือนไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย

          (๒) ไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้

          (๓) ไม่มีความรู้ในการประกอบอาชีพเพื่อเสริมรายได้

          (๔) ไม่มีการติดตามข้อมูลข่าวสารเพื่อเพิ่มความรู้

          (๕) ไม่มีความรู้ในการทำเกษตรอินทรีย์

ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

          (๑) เด็กและเยาวชนมีความเสี่ยงในการติดยาเสพติด

          (๒) ผู้สูงอายุไม่มีรายได้ประจำ

          (๓) กลุ่มสตรีไม่มีความเข้มแข็ง

          (๔) การว่างงานในกลุ่มเยาวชน

          (๕) ขาดการส่งเสริมในด้านวัฒนธรรมในกลุ่มเยาวชน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

          (๑) สภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง  ไม่สามารถเพาะปลูกได้

          (๒) น้ำบ่อหรือแหล่งน้ำธรรมชาติมีสภาพเป็นคราบสนิม  ไม่สามารถนำมาใช้อุปโภค  บริโภคได้

          (๓) ประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี  ทำให้ไม่สามารถทำการเกษตรได้

          (๔) มีการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกรรม  ทำให้ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติมีจำนวนลดลง

          (๕) ไม่มีการกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในช่วงหน้าแล้ง

ด้านการเมืองและบริหารจัดการ

          (๑) ประชาชนขาดความรู้ในเรื่องประชาธิปไตย  ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องการเลือกตั้ง

          (๒) ประชาชนไม่มีความเข้าใจในการบริหารจัดการชุมชน/หมู่บ้าน 

                   (๓) ประชาชนไม่ทราบถึงปัญหาความต้องการและความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาในหมู่บ้าน

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                   (๑) สภาพถนนในหมู่บ้านบางสายยังเป็นดินลูกรัง  ไม่สามารถสัญจรไปมาได้ในช่วงฤดูฝน

(๒) ประปายังเข้าไม่ถึงทุกครัวเรือนภายในหมู่บ้าน

(๓) ถนนบางสายชำรุดเนื่องจากน้ำท่วมซ้ำซาก

ด้านสาธารณสุข

                   (๑) ประชาชนขาดความรู้ในการบริหารจัดการขยะ

                   (๒) ขาดการออกกำลังกายของคนวัยกลางคนและผู้สูงอายุ  ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น  ความดัน  เบาหวาน

(๓) แนวโน้มการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นในเยาวชน  และไม่รู้ถึงโทษภัยของบุหรี่

(2)  จุดแข็ง Strength คือ ศักยภาพความสามารถหรือข้อเด่นของหมู่บ้านเมื่อเทียบกับหมู่บ้านอื่น          (เป็นปัจจัยภายในที่หมู่บ้านสามารถเปลี่ยนแปลงและพัฒนาได้)        

                   (2.1) หมู่บ้านมีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อให้ประชาชนในหมู่บ้านได้หาความรู้ในเรื่องการเกษตรแบบพอเพียง                

                   (2๒) ส่งเสริมให้ประชาชนจัดทำบัญชีครัวเรือน                         

         (2.3) ส่งเสริมการเพาะปลูกพืชผักสวนครัวในบริเวณบ้าน

ด้านเศรษฐกิจ

                    (๑) ประชาชนในหมู่บ้านมีการติดต่อค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน  สามารถนำเงินรายได้มาหมุนเวียนภายในหมู่บ้าน

                   (๒) สามารถหาสัตว์น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อจำหน่ายเสริมรายได้

                   (๓) สามารถจำหน่ายสินค้าการเกษตรนำไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านได้ 

ด้านสังคม (เด็ก  เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส การศึกษา ศาสนา  และวัฒนธรรม)

(๑) มีการให้ความรู้ด้านศาสนาให้กับเด็ก  เยาวชนและประชาชนเป็นประจำทุกวันศุกร์

(๒) มีการมอบประกาศเกียรติคุณให้กับครอบครัวที่เป็นตัวอย่างที่ดีในด้านต่างๆ เป็นประจำทุกปี

(๓) มีการเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุเป็นประจำ

                   (๔) จัดการแข่งขันกีฬาระหว่างเด็ก  เยาวชนกับประชาชนในหมู่บ้าน  เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

                   (๕) มอบผลอินทผาลัมให้กับทุกครัวเรือนเป็นประจำทุกปีในเดือนรอมฎอน (ถือศีลอด)

                   (๖) มีการจัดการเรียนการสอนคัมภีร์อัล-กุรอานให้กับเด็กและเยาวชน  อย่างเป็นระบบแบบแผน

ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

                    (๑) มีแหล่งน้ำธรรมชาติสามารถทำการเกษตรได้ตลอดปี

                   (๒) มีแหล่งอาหารอุดมสมบูรณ์สามารถนำไปเป็นอาหารให้กับสัตว์เลี้ยงได้อย่างเพียงพอ

                   (๓) มีบึงขนาดใหญ่สามารถใช้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ธรรมชาติ

ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ

(๑) มีการประชุมประชาคมทุกครั้งที่มีกิจกรรมในหมู่บ้าน  เพื่อสร้างการรับรู้ในเรื่องต่างๆ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านทราบ

(๒) คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มต่างๆ มีความสามัคคี  สามารถทำงานร่วมกันได้

(๓) จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์เป็นประจำ  เดือนละ    ครั้ง เพื่อสร้างความสามัคคีให้กับประชาชนในหมู่บ้าน

(๔) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของหมู่บ้าน  เพื่อแบบอย่างที่ดีให้เด็กและเยาวชน

(๕) ส่งเสริมกิจกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม  เพื่อสร้างความเข้าใจกันระหว่างเด็ก  เยาวชนกับประชาชนในหมู่บ้าน

ด้านโครงสร้างพื้นฐาน

                    (๑) มีอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน  ให้ประชาชนได้ใช้ในกิจกรรมต่างๆ

                   (๒) ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน

                   (๓) มีถนนเส้นหลักภายในหมู่บ้านที่ได้มาตรฐาน  ประชาชนสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก

ด้านสาธารณสุข

                   (๑) กลุ่มเยาวชนมีความสนใจในการเล่นกีฬาและการออกกำลังกาย

                   (๒) กลุ่ม อสม.ลงพื้นที่ให้ความรู้ในการปฏิบัติตนในขณะเจ็บป่วย  และให้ความรู้ในการป้องกันและรู้ทันโรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นหรือกำลังระบาด

                   (๓) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  มีความพร้อมในการให้บริการแก่ประชาชนที่มารับบริการตลอดทั้งวัน  และลงพื้นที่ร่วมกับ อสม.ในการให้ความรู้ในด้านการรักษาสุขภาพอนามัยให้กับประชาชน

2.2 การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อมภายนอก จะทำให้หมู่บ้านทราบถึงโอกาสและอุปสรรคการทำงานของหมู่บ้าน

      (1) โอกาส Opportunity (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลบวกที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)

          (1.1) นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ และเปิดโอกาสในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบบูรณาการ โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

          (1.2) นโยบายของรัฐให้ความสำคัญ และเปิดโอกาส ในการส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อการเสริมสร้างขีดความสามารถผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน

      (2) อุปสรรค Threat (ปัจจัยภายนอกที่เป็นผลลบที่หมู่บ้านไม่สามารถควบคุมได้)
          (2.1) ประชาชนมีความรู้สึกเบื่อหน่ายกับการประชาคม               

          (2.2) ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้                         

          (2.3) ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ                       

          (2.4) ไม่มีความรู้ในการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

2.3 เป้าหมายการพัฒนา (วิสัยทัศน์ , Vision) ของหมู่บ้าน

กวาลอซีราน่าอยู่  สู่สังคมคุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง

2.4ยุทธศาสตร์                              

                   1.เสริมสร้างศักยภาพหมู่บ้านเข้มแข็งแบบยั่งยืน               

                    2. เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                   3. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตย

2.5 กลยุทธ์

          ๑. สร้างภูมิคุ้มกันในหมู่บ้าน

          ๒. ส่งเสริมการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

                    ๓. สร้างความเข้าใจหลักการประชาธิปไตย

2.4 โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนในการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบูรณาการวางแผนงาน (CIA)

          หมู่บ้านสามารถนำโปรแกรม CIA มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลของหมู่บ้าน เพื่อสะท้อนสภาพปัญหาและจุดเด่นของหมู่บ้านได้ โดยการใช้ฐานข้อมูล จปฐ. และ กชช.2ค. กรอกลงในโปรแกรมสำเร็จรูปซึ่งโปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อมูลเป็น 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาด้านอาชีพ การจัดการทุนชุมชน การจัดการความเสี่ยงชุมชนการแก้ปัญหาความยากจน การบริหารจัดการชุมชน  การใช้โปรแกรมดังกล่าวนอกจากเพื่อการวิเคราะห์สภาพความเป็นจริงของหมู่บ้านแล้ว ยังสามารถวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการทำ SWOT  เพื่อให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์และตรงตามข้อเท็จจริงมากที่สุด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของหมู่บ้าน

  1. แผนที่หมู่บ้าน     2. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน           “กวาลอ”   เป็น...